เมนู

10. โยคสูตร


ว่าด้วยโยคะ 4 อย่าง


[10] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โยคะ (เครื่องผูก) 4 นี้ โยคะ 4
คืออะไร คือ กามโยคะ (เครื่องผูกคือกาม) ภวโยคะ (เครื่องผูกคือภพ)
ทิฏฐิโยคะ (เครื่องผูกคือทิฏฐิ) อวิชชาโยคะ (เครื่องผูกคืออวิชชา)
กามโยคะเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ
ความชุ่มชื่น ความขมขื่น และความออกไป แห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อ
ไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม
ความเพลิดเพลินในกาม ความเยื่อใยในกาม ความสยบในกาม ความกระหาย
ในกาม ความกลัดกลุ้มในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความดิ้นรนในกาม
ย่อมติดแนบใจ. นี่เรียกว่า กามโยคะ. กามโยคะเป็นดังนี้
ก็ภวโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิดฯลฯ
ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไป
แห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ ย่อมติด
แนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ เป็นดังนี้
ก็ทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด
ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ
ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรน
ในทิฏฐิ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้

ก็อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด
ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ 6 ตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ
ความออกไปแห่งผัสสายตนะ 6 ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา ใน
ผัสสายตนะ 6 ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
บุคคล (ผู้ยังละโยคะไม่ได้) นุงนังด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป
อกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล
นั้นว่า (อโยคกฺเขมี) ผู้ไม่ปลอดจากโยคะ
นี้แล โยคะ 4
ภิกษุทั้งหลาย วิสังโยคะ (ความปลอดโปร่ง) 4 นี้ วิสังโยคะ 4
คืออะไร คือ กามโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากกามโยคะ) ภวโยค-
วิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากภวโยคะ) ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความปลอด-
โปร่งจากทิฏฐิโยคะ) อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากอวิชชาโยคะ)
กามโยควิสังโยคะเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความเกิดฯลฯ
ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไป
แห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม ฯลฯ ความดิ้นรนในกาม ย่อม
ไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า กามโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้
ก็ภวโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนโนโลกนี้รู้ถึงความเกิด
ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความ
ออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ
ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ ภวโยค-
วิสังโยคะ เป็นดังนี้

ก็ทิฏฐิโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความ
เกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ
ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรน.
ในทิฏฐิ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ
ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้
ก็อวิชชาโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึง
ความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ 6 ตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด
ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ 6 ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา
ในผัสสายตนะ 6 ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยควิสังโยคะ.
กามโยควิสังโยคะ ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ อวิชชาโยควิสังโยคะ
เป็นดังนี้
บุคคล (ผู้ละโยคะได้แล้ว) ปลอดโปร่งจากธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป
อกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล
นั้นว่า (โยคกฺเขมี) ผู้ปลอดจากโยคะ นี้แล วิสังโยคะ 4
สัตว์ทั้งหลาย อันกามโยคะผู้ไว้
แล้ว ซ้ำภวโยคะและทิฏฐิโยคะผูกเข้าอีก
อวิชชารุมรัดเข่าด้วย ย่อมเวียนเกิดเวียน
ตายไป.
ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กาม และ
ภวโยคะ ด้วยประการทั้งปวง ตัดถอน

ทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะ
ทั้งปวง เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.

จบโยคสูตรที่ 10
จบภัณฑคามวรรคที่ 1

อรรถกถาโยคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโยคสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
กิเลสชื่อว่า โยคะ เพราะผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ในบทว่า กามโยโค
เป็นอาทิ ความกำหนัดประกอบด้วยกามคุณ 5 ชื่อว่า กามโยคะ. ความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวโยคะ. ความ
ติดใจในฌานก็อย่างนั้น. ราคะประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และทิฏฐิ 62 ชื่อว่า
ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในสัจจะ 4 ชื่อว่า อวิชชาโยคะ อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า กามโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในกามะ ชื่อว่า ภวโยคะ เพราะ
ประกอบสัตว์ไว้ในภพ. ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในทิฏฐิ.
ชื่อว่า อวิชชาโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในอวิชชา คำดังกล่าวมานี้ เป็นชื่อ
ของธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายธรรมเหล่านั้น
ให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สมุทยํ คือความเกิด. บทว่า อตฺถงฺคมํ คือความดับ. บทว่า
อสฺสาทํ คือ ความชุ่มชื่น. บทว่า อาทีนวํ คือ โทษที่มิใช่ความชุ่มชื่น.
บทว่า นิสฺสรณํ คือความออกไป.